โรงเรียน ใน แม่สอด กว่า 11 แห่งต้องสั่ง หยุดเรียน เว็บตรง ไปอีกสัปดาห์ หลังจากพบผู้ป่วยโควิดเพิ่ม 14 ราย โดยเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยวัย 78 ปี และครอบครัว 22 คน โรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในสังกัดเทศบาลนครแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 11 แห่ง รวมทั้งโรงเรียนแม่สอดในสังกัด สพป.ตาก เขต 2 และโรงเรียนเอกชนในเขตเทศบาลนครแม่สอด ต้องประกาศหยุดเรียน ในช่วงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ จนถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ และเปิดเรียนในวันที่ 15 กุมภาพันธ์
โดยให้เหตุผลว่า มีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (Covid-19)
ในพื้นที่เขตเทศบาลอย่างต่อเนื่อง จึงต้องหยุดเรียน แต่มาปรับเป็นวิธีสอนแบบออนไลน์ โดยให้ครูประจำชั้นประสานกับทางผู้ปกครอง และนักเรียน ทั้งนี้ล่าสุด มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้เก็บตัวอย่างชาวไทย และชาวเมียนมาในพื้นที่ตลาดศรีมอย และพื้นที่โดยรอบ จำนวน 4 จุด ทั้งหมดกว่า 2,400 คน และพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งหมด 14 ราย
ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นชาวเมียนมาที่วางแผงลอยขายของในตลาดพาเจริญเกือบทั้งหมด ซึ่งเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลแม่สอด และทีมสาธารณสุขได้ไปถึงบ้านผู้ป่วย และนำผู้สัมผัสที่มีความเสี่ยงส่งไปยังสถานที่กักกัน และส่งเจ้าหน้าที่ไปพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อต่อไป
ส่วนที่โรงเรียนสรรพวิทยาคม ที่เป็นโรงเรียนประจำอำเภอแม่สอด และศูนย์กลางศึกษาระดับมัธยมปลาย ในสังกัดสพม.38 ได้จัดห้องเรียนและยังคงจัดการเรียนการสอนใน 2 รูปแบบ สลับกัน ระหว่างนักเรียนที่เรียนออนไลน์ กับ ไปเรียนที่โรงเรียน โดยมีมีมาตรการด้านสาธารณสุขอย่างเข้มข้น
สำหรับผู้ป่วยโควิด 14 ราย มีผลสืบเนื่องมาจากชายวัย 78 ปี กับครอบครัว 22 คน ที่อาศัยอยู่ในตลาดศรีมอย และแพร่เชื้อกระจายออกไปโดยการไปสัมผัส และใกล้ชิด
สื่อต่างชาติ ได้ออกมารายงานว่า ประชาชนชาวไทยจำนวนหนึ่งไม่ยอมโหลด หมอชนะ เนื่องจากความไม่ไว้วางใจที่เกิดขึ้นกับแอปฯดังกล่าว เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ สำนักข่าว ชาแนลนิวส์เอเชีย ได้รายงานว่า คนไทยจำนวนหนึ่งไม่ไว้ใจแอปฯ หมอชนะ แอปพลิเคชันที่ถูกออกแบบเพื่อติดตามสถานที่การเดินทางของผู้ใช้งาน และใช้ในการช่วยเหลือบุคลากรทางแพทย์ในการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย
ผู้ให้สัมภาษณ์รายหนึ่งระบุว่า เธอไม่เคยดาวน์โหลดแอพฯดังกล่าว เนื่องจากเธอไม่ไว้ใจใน หมอชนะ เนื่องจากเธอกลัวว่าข้อมูลของเธอรั่วไหล จากไวรัส พร้อมชี้ให้เห็นอีกว่าเธอค่อนข้างเป็นกังวลกับการ ติดตามของรัฐบาลแบบอ้อมๆ หากเธอใช้แอปฯดังกล่าว
ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการตั้งข้อสงสัยถึงความโปร่งใสของแอปฯดังกล่าว และหากย้อนกลับไปเมื่อปีที่แล้ว ศูนย์ DPEX ที่เป็นศูนย์วิจัยการเข้าถึงข้อมูลของแอปฯตามตัวของประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระบุว่า หมอชนะ เป็นแอปฯที่ขอการเข้าถึงข้อมูลมากที่สุด
โดย DPEX ระบุว่าหมอชนะได้ขอการเข้าถึง กล้องถ่ายรูป, ประวัติการใช้งานอุปกรณ์, ตำแหน่งผู้ใช้, ไมโครโฟน, คลังรูปภาพ/คลิป/ไฟล์อื่น ๆ, พื้นที่เก็บข้อมูล และข้อมูลการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สาย หรือ Wi-Fi ขณะที่แอปฯของสิงคโปร์ขอการเข้าถึงของแอปฯน้อยที่สุด
ทั้งนี้แอปฯหมอชนะเวอร์ชั้นล่าสุด ขอเพียงแค่รูปภาพ และการติดตามตัวเท่านั้น ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมอบชื่อ เบอร์โทร และที่อยู่เหมือนเวอร์ชั้นก่อนหน้านี้ โดย นายจุลพงศ์ ผลเงาะ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศยืนยันว่ารูปภาพที่ถ่ายจะถูกเก็บไว้ภายในเครื่องเท่านั้น
นอกจากนี้นายจุลพงศ์ยืนยันอีกว่าขณะนี้มีคนดาวน์โหลดแอปฯดังกล่าวแล้วราวๆ 7 ล้าน ถึง 8 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นราวๆร้อยละ 20 ของประชาชนที่มีสมาร์ทโฟนในการครอบครอง โดยนายจุลพงศ์กล่าวว่า ประสิทธิภาพของหมอชนะ ขึ้นอยู่กับจำนวนประชาชนที่โหลดแอปฯดังกล่าว
สพฐ. ส่งหนังสือถึงโรงเรียนทั่วประเทศ ห้ามใช้ O-NET เป็นเกณฑ์ สอบเข้า ม.1 ม.4
เลขาธิการ กพฐ. ส่งหนังสือถึง ผอ.ทุกเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ย้ำการรับนักเรียน ม.1 และ ม.4 ไม่ให้นำผลคะแนนการทดสอบ O-NET มาใช้เป็นเกณฑ์
นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ระบุว่า รมว.ศึกษาธิการ มีนโยบายเรื่องการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET ระดับ ป.6 และ ม.3 ให้การทดสอบนี้เป็นเรื่องความสมัครใจของนักเรียน
จึงส่งหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต เรื่องนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียน สังกัด สพฐ.ปีการศึกษา 2564 (ฉบับที่ 2) ระบุตอนหนึ่งว่า จากการแพร่กระจายของเชื้อโควิด มีสถานศึกษาหลายแห่งที่ต้องปิดทำการเรียนการสอน และมีนโยบายลดภาระให้แก่ นร. ลดความซ้ำซ้อนของการประเมินทางการศึกษา
จึงได้ยกเลิกนโยบายการสอบโอเน็ต เฉพาะในการทดสอบระดับชั้น ป.6 และ ม.3 ทั้งนี้การดำเนินการสอบโอเน็ตของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ให้ถือเป็นสิทธิส่วนตัวโดยเฉพาะของนักเรียน ที่จะเข้ารับการทดสอบตามความสมัครใจ
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความเสมอภาคแก่นักเรียนทุกคน จึงแก้ไขเพิ่มเติมแนวปฏิบัติการรับนักเรียนชั้น ม.1 และ ม.4 โดยไม่นำผลคะแนนการทดสอบโอเน็ต มาใช้ในการรับนักเรียนเข้าศึกษา เว็บตรง / บาคาร่าเว็บตรง